กระแสการรับประทานอาหารคลีนผักและผลไม้เพื่อสุขภาพในปัจจุบัน

4

ประเทศไทยมีการสำรวจสถิติการรับประทานผักและผลไม้ ในช่วง พ.ศ. 2550-2554 โดยปริมาณการรับประทานผักและผลไม้ที่แนะนำในแต่ละวันคือ 400 กรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก (WHO) แต่พบว่า ประชากรไทยร้อยละ 70 ของกลุ่มประชากรที่สำรวจ มีการรับประทานผักและผลไม้น้อยกว่าปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีผักที่รับประทานได้ถึง 330 ชนิด รวมทั้งผัก พื้นบ้านด้วย สาเหตุที่คนไทยรับประทานผักและผลไม้ต่ำกว่าเกณฑ์เกิดจากสภาพสังคมไทย ในปัจจุบัน ซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เวลาส่วนใหญ่มักอยู่กับการทำงานและมีเวลาค่อนข้างจำกัด รวมถึงการเลือกชนิดของอาหาร และอาหารจานด่วนส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบของผักและผลไม้ค่อนข้างน้อย ประชาชนทั่วไปจึงสะดวก ในการเลือกซื้ออาหารประเภทดังกล่าวมากกว่าคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้ที่เป็นองค์ประกอบหลัก

สำหรับกระแสการรับประทานอาหารคลีนเพื่อสุขภาพนั้น เป็นประโยชน์และส่งผลดีต่อร่างกาย แต่ต้องคำนึงถึงปริมาณผักและผลไม้ ที่นำมาประกอบเป็นอาหารคลีนว่าอยู่ในปริมาณ ที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การรับประทานผักและผลไม้มากกว่า 569 กรัมต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยง การเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจ ระบบ ไหลเวียนโลหิต และระบบทางเดินอาหาร ขณะที่ผู้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณต่ำกว่า 249 กรัมต่อวัน จะมีความเสี่ยงในโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น การรับประทานผักและผลไม้ให้เพียงพอ ยังช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ถึง 50% ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ถึง 30% ลด ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้ 6% โรคมะเร็งทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร 1-6% นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่า การรับประทานผักและผลไม้ในสัดส่วนดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งเบาหวาน และความดัน เป็นต้น”

นอกจากสถิติที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการ รับประทานผักและผลไม้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานแล้ว ‘ดร.คีธ แรนดอล์ฟ’ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการของสถาบันสุขภาพนิวทริไลท์และหนึ่งในทีมวิจัยเผยว่า “จำนวนประชากรถึง 3 ใน 4 ของกลุ่มประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลกยังได้รับ ไฟโตนิวเทรียนท์ที่ขาดความหลากหลายและ ไม่เพียงพอต่อการมีสุขภาพดี ไฟโตนิวเทรียนท์หรือสารอาหารตามธรรมชาติที่พบในพืชต่างๆ ทำหน้าที่คอยปกป้องพืชจากศัตรูตามธรรมชาติ รวมทั้งป้องกันการเกิดความเครียดทางกาย และการเกิดสารอนุมูลอิสระ ไฟโตนิวเทรียนท์ทำให้ พืชมีสีสันต่างๆ ดังนั้น การรับประทานสีต่างๆ ในอาหารจะทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกัน ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการมีสุขภาพอนามัยที่ดี