เมนูง่ายๆที่ได้จากผักขมทั้งดีและมีประโยชน์

7b87cf2f9ad6fc1a7be8cef50f14fd0cผักโขม เป็นผักป่าหรือผักพื้นบ้านที่เติบโตได้เองตามธรรมชาติ โดยปัจจุบันมีการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะตรงตามความต้องการสำหรับบริโภคมากขึ้น โดยมีการปลูกสำหรับรับประทานเองและเพื่อจำหน่าย นิยมนำมาต้มรับประทานสุก จิ้มน้ำพริก ทำแกงจืด ผัด ทอด และประกอบในเมนูอาหารได้หลากหลาย โดยผักโขมมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเขตร้อน มีมากกว่า 60 สายพันธุ์ จัดเป็นพืชล้มลุก ใบเลี้ยงคู่ มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยหรือลำต้นตั้งตรงสูงตั้งแต่ 10 ซม. จนถึงมากกว่า 1 เมตร ลำต้นมีทั้งแตกกิ่งและไม่แตกกิ่งแขนง ลำต้นอาจมีหนามและไม่มีหนาม ใบและลำต้นมีสีแดงหรือสีเขียว ใบมีรูปไข่หรือรูปไข่ต้นใบกว้าง ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกมีลักษณะออกเป็นช่อประกอบด้วยดอกจำนวนมาก ส่วนเมล็ดเมื่อแก่จะมีสีดำขนาดเล็ก 0.5-1 มิลลิเมตร

การรับประทานสลัดผักโขมก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ต้องจำไว้ว่าไม่ควรกินผักโขมแบบดิบๆเท่านั้นเอง อันดับแรกให้เด็ดใบผักโขมเลือกเอาเฉพาะใบอ่อนๆ จะได้ไม่เหนียวเวลารับประทาน นำมาล้างน้ำให้สะอาดหลังจากนั้นนำไปใส่หม้อตั้งไฟ ปิดฝาทิ้งไว้สักพัก โดยไม่ต้องเติมน้ำเพิ่มเพราะน้ำในใบผักโขมจะทำให้ผักโขมสุกได้เอง เพียงแค่นี้เราก็ได้ใบผักโขมมาทานเป็นสลัดกันแล้ว หรือถ้าอยากให้มีรสชาติหรือคุณค่าทางอาหารเพิ่มมากขึ้นก็ให้ใส่ผักชนิดอื่นที่เราชอบรวมเข้าไปด้วย จะเป็นผักที่สุกแล้วหรือผักดิบก็ได้ อย่างเช่น ฟักทอง แครอท ผักกาดหอม พริกหวาน แตงกวา แล้วใส่น้ำสลัดที่เราชอบคลุกรวมลงไป แค่นี้ก็ได้ทานสลัดผักโขมแสนอร่อยกันแล้ว ถ้าเป็นเมนูตามร้านก็จะมีการใส่เบคอนทอดลงไปเพิ่ม แต่เราอาจจะเปลี่ยนเป็นใส่ไข่ต้มสุกสักลูกก็เพียงพอแล้ว นอกจากอร่อยยังได้ประโยชน์อีกด้วย

คุณค่าทางอาหารของผักโขมผักโขม

– ผักโขมยังมีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม ในคุณสุภาพสตรี
– ผักโขมมีสารซาโปนิน(Saponin) ที่ช่วยลดคอเรสเตอรอลในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์
– วิตามินเอในผักโขม ช่วยในการมองเห็นและช่วยบำรุงสายตา
– วิตามินซี นอกจากในเรื่องป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ยังช่วยเสริมสร้าคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว
– ในผักโขมนั้นอุดมไปด้วยเส้นใย จึงช่วยในระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

การนำผักและผลไม้มาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร

ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้และผักนานาชนิด และมีให้บริโภคกันอยู่ตลอดปี ผลไม้ที่สำคัญของไทย ได้แก่ สับปะรด ฝรั่ง กระท้อน มะม่วง องุ่น ส้มโอ กล้วย ลิ้นจี่ ลำไย มังคุด เงาะ พุทรา ส้ม มะนาว ทุเรียน ขนุน มะละกอ มะกอกน้ำ สมอ และสตรอเบอรี่ ผลไม้เหล่านี้จะมีระยะเวลาออกสู่ตลาดสับเปลี่ยนตลอดปี ซึ่งปริมาณการผลิตในแต่ละปีนั้นไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ฟ้า อากาศ ผลผลิตส่วนมากจะนิยมบริโภคสด และใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปเกือบทั้งหมด ปัจจุบันผู้ประกอบการก็ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักและผลไม้ที่หลากหลายและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ รวมทั้งมีช่องทางการจำหน่ายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้ง่ายกว่าแต่ก่อน และส่งผลให้ผู้บริโภคเปิดรับผักและผลไม้แปรรูปในฐานะขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น

การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปจะช่วยป้องกันการล้นตลาดของผลิตผลสด ซึ่งช่วยยกระดับราคาผลิตผลไม่ให้ตกต่ำ การเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหารระดับอุตสาหกรรมที่สามารถรับวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นอาหารจำนวนมากได้ การผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารให้เป็นที่ยอมรับและสามารถขยายตลาดการค้าออกไปสู่ต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ประเทศได้เป็นอย่างดี โดยเป็นการนำเอาผลผลิตทางการเกษตรมาผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อให้เก็บรักษาผลผลิตทางเกษตรไว้ได้นานก่อนถึงตลาดและผู้ซื้อ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ สภาพของผลผลิตความสะอาด ความชื้น อุณหภูมิ การถ่ายเทอากาศ

จากกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจแปรรูปผักและผลไม้มีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมาก และเป็นโอกาสที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับผู้ประกอบการในการเข้ามาในธุรกิจ โดยเฉพาะสินค้าขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพจากผักและผลไม้ ที่มีจุดเด่นคือเป็นขนมขบเคี้ยวที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ สามารถทานได้ทุกที่ทุกเวลา น่าจะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น โดยผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่มีความแตกต่างและตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยในทุกขั้นตอนการผลิต สร้างเครือข่ายธุรกิจและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการขยายช่องทางการจำหน่ายที่มีศักยภาพ

เทคโนโลยีในการยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ให้อยู่ได้นาน


ผักและผลไม้ เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยอาศัยกรรมวิธีการผลิตที่หลากหลาย มีทั้งการนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปเพียงเล็กน้อย หรือเพียงแค่ล้างทำความสะอาด และตัดแต่งเพื่อจำหน่ายแบบสด หรือนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปโดยใช้ความร้อนสูง แล้วบรรจุในภาชนะเปิดสนิท เช่น กระป๋อง ขวดแก้ว และภาชนะพลาสติก

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักและผลไม้นั้น ส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพที่ใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกัน แต่เมื่อนำมาผ่านการแปรรูปโดยอาศัยกรรมวิธีที่แตกต่างกันแล้ว จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย และแตกต่างกันทั้งในด้านกลิ่น รส สี และลักษณะเนื้อสัมผัส อาทิเช่น หน่อไม้ฝรั่ง ถั่ว ลูกพีช ซึ่งเป็นผัก ผลไม้ ชนิดที่รับประทานได้ทั้งแบบสด ๆ และแบบที่ผ่านการแปรรูป จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 แบบนี้ มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ผู้บริโภคก็ให้การยอมรับทั้ง 2 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริโภคนิยมบริโภคในรูปแบบใด เช่น ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจนิยมบริโภคถั่วสด จะเลือกซื้อสินค้าถั่วสดแช่แข็ง ในขณะที่ผู้บริโภคบางกลุ่มนิยมบริโภคถั่วบรรจุกระป๋อง ก็จะเลือกซื้อเฉพาะสินค้าถั่วบรรจุกระป๋อง เป็นต้น ดังนั้นสินค้าผัก ผลไม้แปรรูปแต่ละประเภทจะมีตลาดรองรับที่แยกจากกันอย่างชัดเจน

การแปรรูปอาหารนั้นเป้าหมายหลักของผู้ประกอบการก็คือ การพัฒนากระบวนการผลิตที่ยังคงความสะดวก ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน แต่มีต้นทุนการผลิตต่ำ และมีการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันทางเลือกหนึ่งของการผลิต และบรรจุสินค้าผัก ผลไม้สด ก็คือการใช้สารเคมีถนอมรักษา หรือช่วยชลอการสุก รวมทั้งช่วยคงคุณภาพของผัก ผลไม้สดหลังการเก็บเกี่ยวด้วย โดยการให้สารเคมีเข้าไปรบกวนการทำงานของเอทธิลีนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นกระบวนการที่ทำให้เกิดการสุกในพืช ในอดีตสารเอทธิลีนถูกนำไปใช้กับสินค้ากล้วย เพื่อทำให้สามารถจำหน่ายกล้วยในขณะที่มีกลิ่นรส และสุกงอมกำลังดี โดยเกษตรกรจำเก็บเกี่ยวกล้วย และทำการขนส่งไปยังปลายทางในขณะที่ผลกล้วยมีสีเขียว หรือยังไม่สุก เพื่อความสะดวกในการขนส่ง หลังจากนั้นจะนำกล้วยไปเก็บในห้องที่มีเอทธิลีนอยู่ เมื่อเอทธิลีนระเหยออกสู่บรรยากาศสัมผัสกับผลกล้วยดิบมันก็จะไปกระตุ้นให้กล้วยเกิดกระบวนการสุกในช่วงเวลาที่เหมาะสม พร้อมที่จะจำหน่าย

ปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนในด้านข้อมูลว่าในขณะเก็บรักษา ผัก และผลไม้ไว้เป็นระยะเวลานาน ๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านกลิ่น รสชาติ ของผัก และผลไม้แต่ละชนิดอย่างไร เช่นเดียวกันกับที่จะต้องมีการพิจารณาและศึกษาถึงประโยชน์ของการประยุกต์ใช้สาร MCP ในพืชอาหารแต่ละชนิดต่อไป

นวัตกรรมกับผลไม้ไทยที่จะต้องสร้างคุณค่าใหม่ๆให้แก่สินค้า


เกษตรกรรมเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับประเทศไทย และวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นเวลายาวนาน แม้ปัจจุบัน จะมีกานำเอาอุตสาหกรรมต่างๆเข้ามาผลิตในประเทศไทย และ คาดหวังให้ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรม แต่เราก็มิอาจปฏิเสธได้ว่า สินค้าหลักของประเทศไทยยังคงเป็น สินค้าเกษตรกรรม

ปัจจุบันการแข่งขันการค้าของโลกได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การที่จะสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้นั้น จำเป็นที่จะต้องสร้างคุณค่าใหม่ๆให้แก่สินค้า เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ และ สร้างความต้องการใหม่ๆให้แก่ลูกค้า เช่น บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ได้ทำการปรับโครงสร้าง กระบวนการผลิต และการจัดจำหน่าย และ มุ่งสู่การพัฒนาการเกษตรให้อยู่ในรูปแบบเกษตรอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการจัดการสมัยใหม่

ดังนั้นจึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรต่างๆให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น เช่น ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง (Photosensitive floating rice) ซึ่งเป็นการพัฒนาให้ข้าวสามารถอยู่ในพื้นที่นํ้าท่วมขังที่ระดับ 1-5 เมตร ได้เป็นระยะเวลา 1 เดือนเป็นต้น สิ่งที่พวกเราขอนำเสนอเป็นส่วนนึงของนวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นกับสินค้าเกษตรของไทย ดังนี้

นํ้าเต้าสี่เหลี่ยม บึงฉวาก
นํ้าเต้าสี่เหลี่ยมที่อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี นายเชาว์ เสาวลักษณ์ ผู้อำนวยการอุทยานผักพื้นบ้านบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ อธิบายให้ฟังพร้อมโชว์น้ำเต้าสี่เหลี่ยมที่ทำแล้วเสร็จว่า “น้ำเต้ามีอยู่หลายชนิด มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันออกไป แต่ ที่สามารถนำมาทำเป็นน้ำเต้าสี่เหลี่ยม หรือน้ำเต้ารูปทรงเรขาคณิตได้มีน้ำเต้าอยู่จำนวน 3 ชนิด คือ น้ำเต้าพื้นบ้าน น้ำเต้าเน่งบาร์ และน้ำเต้าทรงลูกจันทร์ ซึ่งมีลักษณะเล็กและเหมาะสมเท่าที่ทดลองมาแล้ว ทั้ง 3 อย่างนี้ได้ผลดี”

วิธีการเริ่มต้นด้วยการปลูกเลี้ยงน้ำเต้าแบบสมบูรณ์ใช้ได้ทั้งปลูกในกระถาง หรือ ปลูกลงดินก็ได้ปลูกดูแลใส่ปุ๋ยไม่นานก็จะเริ่มออกผลเมื่อแน่ใจว่าติดผลแล้ว  จึงเลือกผลที่อยู่ในตำแหน่งเหมาะสม และ  ไม่มีแมลงรบกวน แล้วก็หากล่องรูปทรงเรขาคณิตตามชอบมาใส่ลูกน้ำเต้าแต่ต้องเป็นกล่องที่มีรูปร่างลักษณะใส ลองแบบทึบแล้วเน่าใช้ไม่ได้ต้องใส่ให้แสงแดดสามารถผ่านเข้าไปด้านในได้   อย่างกล่องใส่ผลไม้รูปร่างต่างๆ ที่มีวางขายอยู่ในท้องตลาด ต้องทำการเจาะรูระบายน้ำระบายอากาศได้ทั้งด้านบนและล่าง   เพื่อป้องกันเชื้อราและเน่าจากนั้นดูแลไปจนถึง 90-120 วัน แล้วแต่อายุและชนิดของพันธุ์น้ำเต้า เมื่อได้รูปตามลักษณะที่ต้องการจึงนำเอากล่องออกแล้วจะได้น้ำเต้าก็จะออกมาเป็นทรงตามกล่องที่ใส่

มะขามเปียก
การเก็บผลผลิตระยะสุดท้าย ของการขายมะขามยักษ์ ตลาดมีความต้องการมาก เพราะมะขามเปียกในประเทศไทย มีคุณภาพดีติดอันดับโลกเลย มะขามเปียกในปัจจุบันที่ชาวบ้านรู้จักคือนำไปทำอาหาร แกงส้ม ต้มยำน้ำพริก และ มะขามแก้ว น้ำมะขาม แต่ นอกเหนือจากนั้นมะขามเปรี้ยวนั้นสามารถนำไปสกัดเป็นกรด ทาทาร์ลิค และแพคติน ที่ได้จากธรรมชาติ นำไปใช้ในระบบอุตสาหกรรมทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น เครื่อง ดื่ม โค้ก เป็ปซี่ กระทิงแดง ก็ใช้ตัวนี้ โรงงานฟอกหนัง เครื่องสำอาง สปา ยา สมุนไพร ต่าง และอีกมากมาย

มะขามเปียกมีตลาดส่งออกที่กว้างมากๆ และเป็นที่ต้องการในหลายๆประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่มีสภาพอากาศและพื้นที่ที่สามารถปลูกมะขามได้ ตลาดส่งออกโดยเฉพาะตะวันออกกลาง จะเป็นตลาดที่ใหญ่มากๆ เพราะมะขามเปียกจำเป็นมากในประเทศทางตะวันออกกลางหรือแถบที่มีทะเลทรายเพราะ มีสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง เดินไปมาก็ต้องอยู่บนทะเลทราย มนุษย์เราคอแห้งไม่ได้ ฉะนั้นประชาชนของประเทศนี้ ถ้าเค้าต้องเอาน้ำติดตัวไป ตลอดก็ อาจมีภาระหรือลำบาก และน้ำอาจมีน้อยหรือไม่พอ เขาจึงใช้วิธีพก มะขามเปียกแทน

เทคโนโลยีสมัยใหม่กับรูปแบบของการเก็บรักษาผักและผลไม้

การเก็บรักษาผลิตผลให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับคุณภาพก่อนการเก็บรักษานั้น ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆให้เหมาะสมกับพืชชนิดนั้นๆ

การเก็บรักษาในห้องเย็น (Cold Storage)

การเก็บรักษาในห้องเย็นเป็นการปรับปัจจัยทางด้านอุณหภูมิเพื่อให้ผลิตผลมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันอุณหภูมิที่เย็นยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เข้าทำลายผลผลิตนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในกรณีนี้ได้แก่อุณหภูมิ ทั้งนี้เพราะอุณหภูมิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆภายในผลิตผล ดังนั้นกรเก็บรักษาผลิตผลทุกชนิดจึงควรเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำ ในระดับที่เหมาะสมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผลิตผล

การเก็บรักษาโดยการควบคุมสภาพของบรรยากาศ (Controlled Atmosphere Storage – CA Storage)

โดยปกติอากาศมีแก๊สออกซิเจนประมาณ 20% แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 0.03% ที่เหลือคือแก๊สไนโตรเจน การลดปริมาณแก๊สออกซิเจนและ/หรือเพิ่มปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศรอบๆผลิตผล มีผลทั้งในการชะลอหรือเร่งการเน่าเสียของผลิตผล ทั้งนี้จะก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตผล พันธุ์ อายุ ระดับของแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิ และระยะเวลาในการเก็บรักษา สำหรับผลิตผลที่สามารถใช้เทคโนโลยีนี้ได้แล้วในปัจจุบัน ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง โดยเก็บรักษาในบรรยากาศควบคุมที่มีแก๊สออกซิเจน 10% และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 10% ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาจาก 7 วัน ออกไปได้มากกว่า 2 สัปดาห์ ทำให้สามารถขนส่งทางเรือไปยังประเทศญี่ปุ่นได้

การใช้สารเคลือบผิว

ผักและผลไม้ตามธรรมชาติมีไข (wax) ปกคลุมผิวด้านนอก โดยประโยชน์ของไข คือ ป้องกันการสูญเสียน้ำ แต่ไขเหล่านี้มักจะถูกชะล้างออกไปในกระบวนการเตรียมผลิตผลก่อนจำหน่าย ทำให้เกิดความเสียหายกับผลิตผล ทั้งในแง่ความทนทานต่อสภาพการเก็บรัษาและความสวยงามในการวางจำหน่าย

การใช้โอโซน

โอโซนที่ความเข้มข้นต่ำๆสามารถใช้ในการเก็บรักษาผักและผลไม้ที่เก็บรักษาในห้องเย็นได้ โดยสามารถป้องกันการเจริญของเชื้อรา และแบคทีเรียในอากาศที่สัมผัสกับผิวของผลิตผลและยังสามารถทำลายจุลินทรีย์ที่ผิวของผลิตผลได้ มีการศึกษาการใช้โอโซนในการเก็บรักษาผักและในการเก็บรักษาผักและผลไม้หลายชนิด เช่น แอปเปิ้ล มันฝรั่ง มะเขือเทศ สตรอเบอรี่ บรอคโคลี แพร์ ส้ม พีช องุ่น ข้าวโพด และถั่วเหลือง แต่สิ่งที่สำคัญคือโอโซนสามารถใช้ในห้องเย็นที่ใช้เก็บรักษาผักและผลไม้เพื่อป้องกันการสุกโดยโอโซนจะไปลดการผลิตแก๊สเอทิลีนที่ผักและผลไม้ผลิตขึ้นและมีผลทำให้ผักและผลไม้สุกหรือเน่าเสียช้าลง

การใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นสารที่ใช้กันมากในการควบคุมการเกิดสีน้ำตาลในผักและผลไม้เนื่องจากไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Polyphenol oxidase (PPO) นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติในการฟอกสีและยังสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อีกด้วย เทคโนโลยีนี้จำเป็นสำหรับลำไยและลิ้นจี่ที่จะส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ สำหรับลิ้นจี่เมื่อรมด้วยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์แล้วจะทำให้เปลือกมีสีแดงซีดลง จึงต้องนำไปแช่ในสารละลายกรด เพื่อให้เปลือกมีสีแดงดังเดิม

การใช้ฟิล์มบรรจุภัณฑ์

ฟิล์มเหมาะสมกับการยืดอายุผลิตผลจะต้องมีคุณสมบัติสามารถดัดแปลงสภาพบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ให้เป็นสภาวะสมดุล (Equilibrium Modified Atmosphere / EMA) ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งของเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็ฯเทคโนโลยีการรักษาความสดและถนอมอาหาร โดยฟิล์มที่เหมาะสมต้องสามารถชะลอการหายใจ การคายน้ำ และการเสื่อมสภาพของผลิตผล ทำให้ยืดอายุการเก็บรักษาได้นานกว่าเดิม 2-5 เท่า โดยรสชาติ กลิ่น และคุณค่าทางโภชนาการไม่เปลี่ยนแปลง

ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ยืดอายุผักและผลไม้ที่พัฒนาด้วยนาโนเทคโนโลยี

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศกสิกรรมสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สังเกตได้จากความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธรรมชาติ ที่ใช้ประโยชน์ได้ทั้งเป็นของกินและของใช้ ซึ่งผักและผลไม้สดก็ถือเป็นผลผลิตสำคัญตัวหนึ่งที่เราผลิตได้ นอกจากนี้ยังเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศเสมอมา

อย่างไรก็ดี ภูมิอากาศเขตร้อนของบ้านเราก็ได้สร้างปัญหาให้กับพืชผลเหล่านี้ไม่น้อยเลย เนื่องจากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จะมีอายุสั้น เก็บไว้ได้ไม่นาน จึงทำให้มีระยะเวลาขนส่งและวางขายเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น หลายครั้งเราจึงต้องสูญเสียผลผลิตการเกษตรระหว่างการขนส่งเป็นจำนวนมาก ถือเป็นทางตันที่แก้ไขได้ยากที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมการส่งออกพืชผลทางการเกษตรของไทย

เนื่องมาจากเราไม่สามารถเก็บรักษาหรือยืดอายุผักและผลไม้ของเราให้ได้นานเท่าที่ต้องการได้นั่นเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เราไม่สามารถส่งผลผลิตสดๆ ไปยังประเทศที่อยู่ห่างไกลได้ด้วยเงื่อนไขด้านเวลา ในปี 2542 พวกเธอจึงได้เริ่มพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์ที่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้สดขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีระดับโมเลกุลหรือระดับนาโนควบคุมโครงสร้างของวัสดุ เพื่อปรับเปลี่ยนคุณสมบัติให้ฟิล์มดังกล่าวมีคุณสมบัติพิเศษกว่าบรรจุภัณฑ์ทั่วไปคือ ยอมให้ก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แพร่ผ่านได้

“ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเรื่องเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อย่างเป็นระบบ ไม่มีงานวิจัยใดที่มุ่งเน้นการสร้างเทคโนโลยีวัสดุเพื่อใช้พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตผลสดเขตร้อนในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อ 20 ปีมานี้ อุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารในประเทศก็เริ่มนำฟิล์มพลาสติกมาใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์บ้างแล้ว แต่ฟิล์มพวกนี้ก็มีข้อจำกัดมาก เพราะสกัดกั้นไม่ให้ก๊าซแพร่ผ่านได้ จึงไม่เหมาะแก่การใช้งาน โดยฟิล์มที่เหมาะสมกับการเก็บรักษาผลผลิตการเกษตรที่เราต้องการจะต้องยอมให้ก๊าซออกซิเจนแพร่ผ่านได้สูง ทำให้มีปริมาณก๊าซในบรรจุภัณฑ์ในปริมาณที่เหมาะสม ชะลอการหายใจ และการคายน้ำของผลผลิตได้ ”

“ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออกผลิตผลเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงเช่น ผักผลไม้ตามฤดูกาล รวมทั้งดอกไม้สด จึงจำเป็นต้องนำเข้าฟิล์มที่ให้ออกซิเจนเข้าออกได้สูงมาจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพงกว่าฟิล์มทั่วๆ ไป 10-20 เท่า อีกทั้งยังเป็นฟิล์มที่เหมาะกับพืชเมืองหนาวโดยเฉพาะ จึงไม่เหมาะสำหรับผลผลิตในเขตร้อน เราจึงเสียเปรียบในเชิงการแข่งขันมาก”

“ฟิล์มที่เหมาะสมกับการยืดอายุผลผลิตจะต้องมีคุณสมบัติสามารถดัดแปลงสภาพบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ให้เป็นสภาวะสมดุล (Equilibrium Modified Atmosphere /EMA) ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งในกลุ่มเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์แบบแอคทีฟ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีการรักษาความสดและถนอมอาหารแห่งศตวรรษที่ 21 มีผลต่อการชะลอการหายใจ การคายน้ำ และการเสื่อมสภาพของผลผลิต สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานกว่าเดิม 2-5 เท่า โดยรสชาติ กลิ่น และคุณค่าทางโภชนาการไม่เปลี่ยนแปลง”

เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ให้ผัก-ผลไม้เก็บไว้ได้นาน


ประเทศไทย ได้ขึ้นชื่อว่ามีผลไม้ และผักสดที่สำคัญ ต่อความต้องการ ของพลเมืองโลก ยกตัวอย่าง ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ มังคุด ราชินีแห่งผลไม้ นอกจากนี้ยังมีกล้วยหอม ลิ้นจี่ สับปะรดเงาะ และผัก เช่นหน่อไม้ฝรั่ง กระเจี้ยบขาว มะนาวข้าวโพด ฯลฯ เวลา 7 เดือน ช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนกันยายนของทุกปี เป็นช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกัน ทำให้ผลไม้และผักมีราคาถูก ผู้บริโภคหารับประทานง่าย แต่เกษตรกรต้องคิดหนักถึงต้นทุนการผลิตที่คิดคำนวณแล้ว จะไม่คุ้มค่ากับการลงทุนลงแรงในการประกอบอาชีพ

รัฐบาลต้องออกมารับประกันราคากันแทบอยู่ทุกปี
ปัญหาเรื่องคุณภาพในระหว่างการส่งออกก็เป็นปัจจัยหนึ่ง หากส่งออกทางเครื่องบินจะรวดเร็วแต่เสียค่าใช้จ่ายสูง ถ้าส่งทางเรือจะช้าแต่ราคาถูก จึงได้คิดค้นวิธีการยืดอายุผลไม้และผักให้เก็บรักษาไว้ได้นานวันขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้จำหน่าย หากมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหา คณะนักวิจัยได้ค้นคว้าวิจัยจนพบวิธีการนำเทคโนโลยี มาใช้ยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้และผักเป็นผลสำเร็จแล้วจำนวน 10 ชนิด ได้แก่ มังคุด เก็บรักษาไว้นานกว่า 35 วัน กล้วยหอมเก็บรักษาได้ 70 วัน กล้วยไข่ 40 วัน หน่อไม้ฝรั่ง 30 วัน กระเจี๊ยบเขียว 40 วัน ข้าวโพดฝักอ่อน 25 วัน มะนาว 60 วัน ลิ้นจี่ 18 วัน สับปะรด 30 วันและเงาะ เก็บรักษาได้ 15 วัน

หลักการที่ใช้ยืดอายุ คือการควบคุมขบวน การเปลี่ยนแปลงผลผลิต ที่นำไปสู่ความเสื่อมสลาย โดยการควบคุมอัตราการหายใจ ของผลผลิต หลังการเก็บเกี่ยวให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ก็จะยืดอายุได้นาน ส่วนการจัดการปัจจัยภายนอก ให้เหมาะสม ได้แก่ 1.ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม ผลผลิตแต่ละชนิด 2.ควบคุมความชื้น ภายในภาชนะบรรจุไม่ให้เกิดหยดน้ำ 3.ควบคุม+ป้องกันการเข้าทำลาย ของโรคและแมลง 4.ควบคุมปริมาณก๊าซเอทธิลีน ที่ผลผลิตสร้างขึ้นภายใน ภาชนะบรรจุไม่ให้มีปริมาณมาก เพราะสามารถทำความเสียหายให้กับผลผลิตได้ 5.จัดบรรยากาศแวดล้อมผลผลิตสด ภายหลังการบรรจุครั้งแรกให้เหมาะสม แล้วปล่อยให้มีการปรับสภาพ ภายในภาชนะบรรจุเองด้วยตัวของผลผลิตเอง

ผลประโยชน์ของการเก็บรักษาผักและผลไม้ดังที่กล่าวมา มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำมากๆ สามารถส่งไปจำหน่ายได้ทั่วทุกมุมโลก ง่ายต่อการปฏิบัติและไม่มีสารปนเปื้อน เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมี ขณะนี้ได้ขยายวงเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมแล้ว โดยมีผู้สนับสนุนเป็นภาคเอกชนเข้าร่วมจัดทำโรงงานต้นแบบ

งานนี้เพื่อให้เกษตรกรได้เห็นถึงความสำคัญของวิธีการเก็บรักษาผลผลิต ผลักดันให้เกิดราคาผลผลิตที่สูงขึ้น อันจะนำไปสู่เทคโนโลยีการส่งออกต่อไปในอนาคต

การเลือกผักและผลไม้ในการรับประทานและคุณประโยชน์ของผักผลไม้ของแต่ละสี

ผักผลไม้มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างยิ่ง มีเส้นใยอาหารที่ช่วยในระบบทางเดินอาหาร และระบบขับถ่าย เป็นแหล่งของวิตามินและเกลือแร่ ช่วยป้องกันและบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ แถมยังช่วยบำรุงผิวพรรณ แต่ผักผลไม้นั้นมีมากมายหลายชนิด ตลอดจนมีการแปรรูปออกมาในหลากหลายรูปแบบ หลายคนคงสงสัยว่า คุณประโยชน์ต่างๆ ของผักผลไม้แต่ละชนิด แต่ละรูปแบบ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ผักผลไม้สีต่างๆ มีประโยชน์เหมือนหรือต่างกันอย่างไรสีสันในผักผลไม้มาจากสารเคมีตามธรรมชาติที่แตกต่างกันไป เช่นผักผลไม้สีส้ม สีเหลือง เช่น แครอท ฟักทอง และผักใบเขียวเข้ม เช่น ตำลึง คะน้า ผักบุ้ง บร็อกโคลี จะมีเบต้าแคโรทีนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณผักผลไม้สีแดง เช่น มะเขือเทศ แตงโม มะละกอสุก จะมีไลโคปีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลตัวร้ายได้อีกด้วยผักผลไม้สีเหลือง และผักใบเขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด ผักกาด คะน้า ปวยเล้ง ผักโขม จะมีลูทีนและซีแซนทินซึ่งช่วยบำรุงสายตาและป้องกันความเสื่อมของดวงตาผักผลไม้สีม่วง เช่น ดอกอัญชัน กะหล่ำม่วง มะเขือม่วง เบอร์รีชนิดต่างๆ จะมีแอนโทไซยานินซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือด และช่วยต้านการอักเสบ

สารสำคัญในผักผลไม้ชนิดต่างๆ ทำงานออกฤทธิ์ส่งเสริมเกื้อหนุนกัน จึงไม่มีชนิดใดดีที่สุด การรับประทานให้หลากหลาย สลับสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละวัน อย่าให้ซ้ำซากจำเจจะดีที่สุดน้ำผักผลไม้ไม่มีกากใยเหมือนกับผักผลไม้สดๆ กากใยช่วยให้เรารู้สึกอิ่ม ช่วยขัดขวางการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันโรคอ้วน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ดีต่อระบบการขับถ่าย ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ริดสีดวงทวาร และลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้รับประทานผักผลไม้สด ก็อาจจะดื่มน้ำผักผลไม้เสริม โดยควรจะคั้นเอง ดีกว่าซื้อน้ำผักผลไม้สำเร็จรูปซึ่งจะมีปริมาณน้ำตาลสูง น้ำผักผลไม้ที่คั้นเองยังสะอาดปลอดภัยกว่าซื้อนอกบ้านอีกด้วย

สาระน่ารู้พืชผักและผลไม้ เพื่อสุขภาพพลานามัยที่ดีของคุณสาวๆ


เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผักและผลไม้ คือ อาหารที่จำเป็นทั้งต่อมนุษย์และสัตว์ หรืออาจจะรวมไปถึงสิ่งมีชีวิตทุกอย่างบนโลกก็ไม่น่าจะผิดแต่อย่างใด เนื่องจากพืชเองก็สามารถใช้ผักและผลไม้ นำไปเป็นอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตของมันได้ โดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ และผ่านขบวนการการสังเคราะห์แสง เพื่อแปรสภาพเป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อส่วนต่างๆ ของพืชในการดำรงชีวิตต่อไป สำหรับประโยชน์ที่มีต่อมนุษย์แล้ว คงจะไม่มีใครปฏิเสธคุณค่าอันมหาศาลของผักและผลไม้ได้เป็นแน่ ถ้าจะมีก็อาจจะเป็นกลุ่มคนที่นิยมเฉพาะอาหารที่เน้นเพียงรสชาติเท่านั้น และไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องสุขภาพของตัวเองเท่าใดนัก หรือถ้าจะห่วงสุขภาพของตัวเองบ้าง ก็มักจะหันไปพึ่งการรับประทานวิตามิน หรืออาหารเสริม ซึ่งมีราคาแพงมากกว่าแทน เพราะอาจจะคิดแค่เพียงว่าของแพงเท่านั้น จึงจะมีประโยชน์และมีคุณค่ามากที่สุด

ปัจจุบันนี้ มีนักวิจัยจากหลายหน่วยงาน ที่ให้ความสนใจและได้ทำการวิจัยประโยชน์ของผักและผลไม้กันมากขึ้น ทำให้ประชาชนอย่างเราๆ ได้มีโอกาสรู้ว่าผักและผลไม้ที่รับประทานกันอยู่ทุกวันนี้มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ซึ่งประโยชน์ของผักและผลไม้ที่ได้มีการศึกษาเอาไว้นั้น ก็พบว่านอกจากจะมีประโยชน์ในด้านของโภชนาการชั้นยอดแล้ว บางชนิดยังสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อบำบัดและรักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ ตาฝ้าฟาง เหน็บชา แผลอักเสบ ร้อนใน ไข้หวัด เป็นต้น แต่ก็ยังมีหลายท่านที่คงสงสัยอยู่ว่า ผักและผลไม้นั้นจะสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้จริงหรือ สำหรับคำตอบที่ยืนยันได้ว่าผักและผลไม้สามารถบำบัดและรักษาโรคได้ คือ

ประการแรก ผักและผลไม้ให้พลังงานต่ำ เพราะมีไขมันน้อยมาก ผักและผลไม้หลายชนิดไม่มีไขมันเลย หากกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้นแทนอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือไขมันย่อมได้พลังงานน้อยกว่า โอกาสที่จะมีน้ำหนักเพิ่มจนเป็นโรคอ้วนจึงน้อยกว่า โรคอ้วนเป็นอัตราเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็งและโรคหัวใจ

ประการที่สอง ผักและผลไม้ไม่มีโคเลสเตอรอล การกินโคเลสเตอรอลมากเกินไปอาจทำให้ไขมันพอกหลอดเลือดจนตีบตันอันเป็นสาเหตุให้ความดันโลหิตสูงและเป็นโรคหัวใจ ดังนั้น การเลือกรับประทานผักและผลไม้จึงทำให้ไม่ต้องคอยกังวลในเรื่องของโคเลสเตอรอล

สารพัดประโยชน์ของสารอาหารสำคัญในพืช ผักและผลไม้

พืช ผักและผลไม้ เป็นแหล่งของอาหารที่สำคัญที่ร่างกายควรจะได้รับ

คือ วิตามินและแร่ธาตุ และพบว่า วิตามินซี และเบตาแคโรทีน ซึ่งมีมากในผลไม้ประเภทส้ม ผักใบเขียว ผลไม้สีเขียว-เหลือง มีส่วนป้องกันไขมันไปเกาะที่ผนังของเส้นเลือดและป้องกันมะเร็งได้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ทั้งพืชผักและผลไม้ตลอดทั้งปี สามารถจะเลือกกินได้และมีราคาไม่แพงมากนัก การส่งเสริมให้กินพืชผักและผลไม้เป็นประจำจึงเท่ากับเป็นการป้องกันการเกิดโรคแทนการรักษาเมื่อเป็นโรค ซึ่งเท่ากับเป็นการลดค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพได้ทางหนึ่ง

การรับประทานผักและผลไม้ดีต่อสุขภาพอย่างมาก เพราะนอกจากจะมีทั้งวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งมีส่วนสำคัญช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายแล้ว ในผักแต่ละชนิดยังมีสีสันที่แตกต่างกันไปชวนให้ยิ่งน่ารับประทานมากขึ้น ซึ่งสีสันสดใสไม่ว่าจะเป็นแดง เขียว ส้ม ม่วง ขาว เหล่านี้นี่แหละคือสารอาหารสำคัญในการสร้างภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย

ควรรับประทานผักผลไม้ให้ได้ทุกมื้อทุกวัน

เทคนิคง่ายๆที่ช่วยไม่ให้การรับประทานผักกลายเป็นเรื่องจืดชืดจำเจ คือการสร้างสรรค์เมนูผักตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นผัดผัก ต้มแกง ผักจิ้มน้ำพริก เครื่องเคียงในอาหารยำ สลัดผักผลไม้ โดยเลือกผักผลไม้ชนิดต่างๆให้หลากหลาย ผู้ที่ชื่นชอบผักผลไม้เป็นพิเศษอาจจะหั่นผสมลงไปในข้าว กับข้าว หรือเครื่องดื่ม รับประทานผลไม้เป็นอาหารว่างแทนขนมขบเคี้ยว ดื่มน้ำผักหรือน้ำผลไม้คั้นเองสักวันละแก้ว หรือแม้แต่หันมากินข้าวกล้องแทนข้าวขาว ก็เพิ่มคุณค่าให้กับมื้ออาหารได้ไม่น้อย

สีสันในผักผลไม้มาจากสารเคมีตามธรรมชาติที่แตกต่างกัน

– ผักผลไม้สีส้ม สีเหลือง เช่น แครอท ฟักทอง และผักใบเขียวเข้ม เช่น ตำลึง คะน้า ผักบุ้ง บร็อกโคลี จะมีเบต้าแคโรทีนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ

– ผักผลไม้สีแดง เช่น มะเขือเทศ แตงโม มะละกอสุก จะมีไลโคปีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลตัวร้ายได้อีกด้วย

– ผักผลไม้สีเหลือง และผักใบเขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด ผักกาด คะน้า ปวยเล้ง ผักโขม จะมีลูทีนและซีแซนทินซึ่งช่วยบำรุงสายตาและป้องกันความเสื่อมของดวงตา

– ผักผลไม้สีม่วง เช่น ดอกอัญชัน กะหล่ำม่วง มะเขือม่วง เบอร์รีชนิดต่างๆ จะมีแอนโทไซยานินซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือด และช่วยต้านการอักเสบ