ผักโขม เป็นผักป่าหรือผักพื้นบ้านที่เติบโตได้เองตามธรรมชาติ โดยปัจจุบันมีการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะตรงตามความต้องการสำหรับบริโภคมากขึ้น โดยมีการปลูกสำหรับรับประทานเองและเพื่อจำหน่าย นิยมนำมาต้มรับประทานสุก จิ้มน้ำพริก ทำแกงจืด ผัด ทอด และประกอบในเมนูอาหารได้หลากหลาย โดยผักโขมมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเขตร้อน มีมากกว่า 60 สายพันธุ์ จัดเป็นพืชล้มลุก ใบเลี้ยงคู่ มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยหรือลำต้นตั้งตรงสูงตั้งแต่ 10 ซม. จนถึงมากกว่า 1 เมตร ลำต้นมีทั้งแตกกิ่งและไม่แตกกิ่งแขนง ลำต้นอาจมีหนามและไม่มีหนาม ใบและลำต้นมีสีแดงหรือสีเขียว ใบมีรูปไข่หรือรูปไข่ต้นใบกว้าง ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกมีลักษณะออกเป็นช่อประกอบด้วยดอกจำนวนมาก ส่วนเมล็ดเมื่อแก่จะมีสีดำขนาดเล็ก 0.5-1 มิลลิเมตร
การรับประทานสลัดผักโขมก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ต้องจำไว้ว่าไม่ควรกินผักโขมแบบดิบๆเท่านั้นเอง อันดับแรกให้เด็ดใบผักโขมเลือกเอาเฉพาะใบอ่อนๆ จะได้ไม่เหนียวเวลารับประทาน นำมาล้างน้ำให้สะอาดหลังจากนั้นนำไปใส่หม้อตั้งไฟ ปิดฝาทิ้งไว้สักพัก โดยไม่ต้องเติมน้ำเพิ่มเพราะน้ำในใบผักโขมจะทำให้ผักโขมสุกได้เอง เพียงแค่นี้เราก็ได้ใบผักโขมมาทานเป็นสลัดกันแล้ว หรือถ้าอยากให้มีรสชาติหรือคุณค่าทางอาหารเพิ่มมากขึ้นก็ให้ใส่ผักชนิดอื่นที่เราชอบรวมเข้าไปด้วย จะเป็นผักที่สุกแล้วหรือผักดิบก็ได้ อย่างเช่น ฟักทอง แครอท ผักกาดหอม พริกหวาน แตงกวา แล้วใส่น้ำสลัดที่เราชอบคลุกรวมลงไป แค่นี้ก็ได้ทานสลัดผักโขมแสนอร่อยกันแล้ว ถ้าเป็นเมนูตามร้านก็จะมีการใส่เบคอนทอดลงไปเพิ่ม แต่เราอาจจะเปลี่ยนเป็นใส่ไข่ต้มสุกสักลูกก็เพียงพอแล้ว นอกจากอร่อยยังได้ประโยชน์อีกด้วย
คุณค่าทางอาหารของผักโขมผักโขม
– ผักโขมยังมีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม ในคุณสุภาพสตรี
– ผักโขมมีสารซาโปนิน(Saponin) ที่ช่วยลดคอเรสเตอรอลในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์
– วิตามินเอในผักโขม ช่วยในการมองเห็นและช่วยบำรุงสายตา
– วิตามินซี นอกจากในเรื่องป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ยังช่วยเสริมสร้าคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว
– ในผักโขมนั้นอุดมไปด้วยเส้นใย จึงช่วยในระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร